เทคนิคการทําวิทยานิพนธ์ ฉบับเต็ม



เทคนิคการทําวิทยานิพนธ์ ระดับปริญญาโท ปริญญาเอก สถาบันการศึกษา ทุกแห่ง กำหนดรูปแบบคู่มือวิทยานิพนธ์ เช่น คู่มือวิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ฉบับสมบูรณ์ กำหนดหัวข้องานวิจัยที่ต้องการ ข้อกำหนดการทำรูปแบบเล่มทําวิทยานิพนธ์ ป.โท - ดุษฎีนิพนธ์ มีขนาดตัวอักษร การจัดหน้าเอกสาร เนื้อหา แตกต่างกัน การทําวิทยานิพนธ์จะต้องศึกษาข้อมูลจากงานวิจัยที่ผ่านมา ค้นคว้างานวิจัยที่เกี่ยวข้อง บทความงานวิจัย ค้นคว้าทฤษฎี จากนั้น กำหนดแนวทางทําวิทยานิพนธ์ตามระเบียบวิธีวิจัย (Research methodology) ตามชื่อเรื่องงานวิจัยที่กำหนดเอาไว้

ตัวอย่างชื่อเรื่องงานวิจัยที่ผ่านมาแล้ว

คำว่า วิทยานิพนธ์ ประกอบด้วยคำว่า วิทยา กับ นิพนธ์. คำว่า วิทยา ในที่นี้ใช้หมายถึง วิชาการ คือ ความรู้ที่เป็นศาสตร์ในสาขาใด ๆ ที่มีการศึกษากัน โดยเฉพาะในระดับบัณฑิตศึกษา. คำว่า นิพนธ์ แปลว่า แต่งหนังสือ. คำว่า วิทยานิพนธ์ จึงแปลว่า หนังสือที่แต่งเรื่องทางวิชาการ ใช้เรียกผลงานของนักศึกษาระดับปริญญาโท หรือ เอก ที่เขียนขึ้นเพื่อแสดงความรู้ที่ค้นคว้ามาได้ใหม่ เช่น นักศึกษาระดับปริญญาโทหรือ ปริญญาเอก ต้องศึกษาค้นคว้าความรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างลึกซึ้ง เมื่อได้ความรู้ใหม่แล้วจึงเสนอเป็นวิทยานิพนธ์เพื่อขอรับปริญญามหาบัณฑิตหรือดุษฎีบัณฑิต (ที่มา : บทวิทยุรายการ “รู้ รัก ภาษาไทย” ออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 เวลา 7.00-7.30 น.)

การทำวิทยานิพนธ์ (Thesis) กำหนดชื่อเรื่อง กำหนดสถานที่ที่จะทำงานวิจัย กำหนดประชากร ขนาดตัวอย่างและวิธีการสุ่มตัวอย่าง ระบุสถิติเพื่อกำหนดเหตุผลที่ใช้สถิติเพื่อวิเคราะข้อมูลการพัฒนาเครื่องมือในการทำวิทยานิพนธ์ ทำการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือเพื่อหาความเที่ยงตรง การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ การนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล SPSS ในรูปแบบตาราง พร้อมอธิบายผลข้อค้นพบที่ได้จากการวิจัย สรุปงานวิจัยข้อค้นพบที่ได้จากการวิจัย การเรียบเรียงเขียนงานวิจัยจะต้องให้ผู้อื่นอ่านงานวิจัยแล้วเข้าใจ ไม่ใช่ว่าอ่านแล้วเข้าใจคนเดียว ซึ่งการทำวิทยานิพนธ์ ฉบับสมบูรณ์ หรือการทำวิทยานิพนธ์ ฉบับเต็ม ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 5 บท ยึดถือตามระเบียบวิธีวิจัยเป็นพื้นฐาน ดังนี้

บทที่ 1 ความสำคัญของปัญหา

บทที่ 1 เริ่มเขียน อธิบายสภาพปัญหาทั่วไป มุ่งเน้นชี้สาเหตุของปัญหา อธิบายเหตุผล กำหนดวัตถุประสงค์ สมมติฐานการวิจัย ขอบเขตของงานวิจัย นิยามศัพท์เฉพาะ ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย โดยผู้ทำวิทยานิพนธ์ ต้องทำการศึกษาระเบียบวิธีวิจัยให้มากๆ ค้นคว้าฐานข้อมูลงานวิจัย ค้นคว้าทฤษฎี หาอ่านตำรา หนังสือที่เกี่ยวข้องกับทฤษฎี ฐานข้อมูลงานวิจัย จากนั้นนำข้อมูลมาเรียบเรียงเขียนในหัวข้อ ดังนี้

1.1 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา เป็นการอธิบายภาพรวม กล่าวถึง สาเหตุของปัญหาที่จะทำงานวิจัยเรื่องดังกล่าว อธิบายเหตุผล มีสาเหตุความสำคัญอย่างไร ที่มาของชื่อเรื่องจะต้องศึกษาทำวิทยานิพนธ์ เป็นเพราะอะไรจึงทำวิทยานิพนธ์ หรือ ทำงานวิจัยเรื่องนี้

1.2 วัตถุประสงค์ของการวิจัย (Objectives) เป็นการต้องการค้นหาข้อเท็จจริงจากชื่อเรื่องที่จะต้องศึกษาทำวิทยานิพนธ์ โดยกำหนดวัตถุประสงค์ ควรระบุเป็นข้อ ๆ ให้ชัดเจนเชื่อมโยงกับตัวแปรของงานวิจัย

1.3 สมมติฐานของการวิจัย (Hypotheses) งานวิจัยทุกชื่อเรื่อง หรือหัวข้องานวิจัยที่ตั้งเอาไว้ ที่จะต้องศึกษาทำวิทยานิพนธ์หรือทำงานวิจัย จะต้องมีการสอบสมมติฐาน เพื่อเป็นการค้นหาข้อเท็จจริง ค้นหาคำตอบจากวัตถุประสงค์ของการวิจัยที่ได้ตั้งเอาไว้ แหล่งอ้างอิง ทฤษฎี หลักการวิชาการต่าง ๆ ได้ข้อสรุปจากสมมติฐานของการวิจัย จะช่วยให้ผู้ ทำวิทยานิพนธ์ หรือทำงานวิจัย มีแนวทางในการปฏิบัติงานได้ดีขึ้น และสามารถอธิบายข้อเท็จจริงได้อย่างเหมาะสม

1.4 กรอบแนวคิดในการวิจัย (Conceptual Framework) ลักษณะการเชื่อมโยงอธิบายตัวแปรต้น และตัวแปรตาม เกี่ยวข้องระหว่างตัวแปรที่ศึกษาของงานวิจัย หลักสำคัญในการเขียนกรอบแนวคิด คือ จะต้องอ้างอิงทฤษฎี อ้างอิงแนวคิดของนักวิชาการ นำมาใช้เป็นกรอบการทำงานวิจัย เพื่อแสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต้นและตัวแปรตามที่ใช้ควบคุม และตัวแปรตาม แสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่สอดคล้องกัน

1.5 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ (Contribution to Knowledge) ลักษณะคาดการณ์ล่วงหน้า สิ่งที่คาดหวังล่วงหน้า อาจจะเป็นประโยชน์ในการแก้ปัญหาที่กำลังเผชิญต่อการปฏิบัติงานที่กำลังทำอยู่ หรือได้ความรู้จากการวิจัยสินค้าหรือบริการอย่างใดอย่างหนึ่ง สามารถนำไปใช้ประโยชน์ เป็นแนวทางใช้ประโยชน์เพื่อปรับปรุง หรือเพื่อพัฒนาคุณภาพการปฏิบัติงาน

1.6 ขอบเขตของการวิจัย (Scope of Study) เป็นการระบุอ้างอิงที่มาของประชากร กำหนดประชากร ขนาดตัวอย่างและวิธีการสุ่มตัวอย่าง การเก็บรวบรวมข้อมูลของพื้นที่ที่จะ ทำวิทยานิพนธ์ หรือ ทำงานวิจัย ครอบคลุมเนื้อหาให้ละเอียด กำหนดระยะเวลาให้ชัดเจน

1.7 นิยามศัพท์เฉพาะ (Definition of Terms) ลักษณะการกำหนดความหมายคำในเชิงปฏิบัติการ (Operational Definitions) ที่ใช้ในการวิจัย

บทที่ 2 วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง

ลักษณะเรียบเรียงเขียนจากสาระความรู้ ตกผลึกแล้วจากที่ได้ไปศึกษาค้นคว้ามาจากแหล่งความรู้ต่างๆ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับชื่อเรื่องงานวิจัยของเราที่ตั้งชื่อเรื่องเอาไว้ โดยทำการวิเคราะห์จากคำสำคัญ ตามชื่อวิทยานิพนธ์ของเป็นหลัก ต้องอาศัยค้นคว้าหาอ่านงานวิจัยมาก ๆ จากฐานข้อมูลงานวิจัย ค้นหางานวิจัย เขียนเนื้องานวิจัยให้เชื่อมโยงกับแนวคิด ทฤษฎี เพื่ออ้างอิงงานวิจัยของผู้อื่นที่นำมาประกอบในงานวิจัยของเรา ต้องเขียนให้มีความสัมพันธ์สอดคล้องกันอย่างกลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกัน เป็นภาษาของเราเอง ไม่ควรคัดลอกเอางานวิจัยของคนอื่นมาเป็นของเรา คัดลอกเนื้อความมาได้แต่ต้องอ้างอิงให้ถูกต้อง เนื้อหาส่วนนี้จะให้ข้อมูลที่เป็นทฤษฎี แนวคิด หรือความรู้เกี่ยวกับชื่อเรื่อง งานวิจัยของเราที่ตั้งชื่อเรื่องเอาไว้

บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย

เป็นการอธิบายวิธีวิจัยเชิงปริมาณหรือการวิจัยเชิงคุณภาพ ระบุอ้างอิงที่มาของประชากร ขนาดตัวอย่างและวิธีการสุ่มตัวอย่าง การสร้างเครื่องมือ ออกแบบเครื่องมือวิจัย เขียนอธิบายการเลือกเครื่องมือและวิธีการ ความถูกต้องและเชื่อถือได้ของเครื่องมือ วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลของพื้นที่ที่จะทำวิทยานิพนธ์ หรือ ทำงานวิจัย วิธีที่ใช้ศึกษาการวิเคราะห์ข้อมูล อธิบายให้ละเอียด อาจวิเคราะห์ข้อมูล SPSS หรือ ใช้สถิติขั้นสูงวิเคราะห์ STATA

บทที่ 4 ผลการวิจัย

เป็นลักษณะการเขียนผลการวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ การนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่ปรากฏและเขียนอธิบายผลตามข้อเท็จจริงเป็นการรายงานผลวิเคราะห์ข้อมูลงานวิจัยโดยละเอียด สามารถนำเสนอด้วยการบรรยายหรือนำเสนอในรูปตาราง กราฟ ภาพ เพื่อให้การตีความหมายข้อมูลชัดเจนยิ่งขึ้น อาจนำเสนอทั้งในรูปแบบตาราง กราฟ สถิติ พร้อมอธิบายผลข้อค้นพบที่ได้จากการวิจัย

บทที่ 5 สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

สรุปผลการวิจัย จากทําวิจัยบทที่ 4 สรุปผลข้อค้นพบที่ได้จากการวิจัย การเรียบเรียงเขียนงานวิจัยจะต้องให้ผู้อื่นอ่านงานวิจัยแล้วเข้าใจ จาก ทําวิจัย 5 บท ไม่ใช่ว่าอ่านแล้วเข้าใจคนเดียว เขียนอภิปรายผลการวิจัยอย่างเป็นเหตุเป็นผล โดยอาศัยภูมิรู้ของผู้ทำวิทยานิพนธ์ หรือ ผู้ทำงานวิจัย ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าจากแหล่งความรู้ต่างๆ ที่ได้เรียบเรียงเขียนไว้แล้วในบทที่ 2 รวมทั้งองค์ความรู้ใหม่ที่เกิดขึ้นหลังจากที่เราได้ทำการวิจัยสิ้นสุดลง อาจจะได้ผลสรุปที่สอดคล้องกับผลงานวิจัยของผู้อื่นที่ได้ทำการศึกษามาก่อนนี้แล้วนำมาประกอบการเขียนอภิปรายผลอย่างมีน้ำหนักให้งานวิจัยของเราเกิดความน่าเชื่อถือและเป็นที่ยอมรับในแวดวงวิชาการยิ่งขึ้น การเขียนอภิปรายผลจึงเป็นเสมือน ดัชนีชี้วัดความรู้ ความสามารถ และความแตกฉานในงานวิจัยของผู้ที่ได้ศึกษาค้นคว้า ว่ามีความลึกซึ้งมากน้อยเพียงใดกับงานวิจัยของตนเอง สามารถเชื่อมโยงแนวคิด เชื่อมโยงทฤษฎีเพื่อสนับสนุนข้อค้นพบจากงานวิจัยครั้งนี้ พร้อมอธิบายข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อการทำวิจัยอื่นๆ ในอนาคตได้อย่างเหมาะสมต่อไป

การอภิปรายผลที่ในส่วนนี้ผู้ทำวิทยานิพนธ์ หรือ ผู้ทำวิจัยทางการแพทย์ จะต้องนำประเด็นสำคัญของผลการศึกษามาอภิปรายผลงานวิจัยที่ค้นพบ สนับสนุนหรือขัดแย้งกับทฤษฎีหรือตรงกับการศึกษาของผู้อื่นอย่างไร หรือที่ได้กล่าวไว้ในวรรณกรรมประการใด โดยอ้างอิงทฤษฎี แนวคิดและผลงานวิจัยของผู้อื่น หรือข้อมูลประกอบเพื่อยืนยันผลที่ได้รับจากการวิจัยของผู้วิจัย มีการค้นพบใหม่เกิดขึ้นหรือไม่ เมื่ออภิปรายผลจบแล้ว ให้ผู้วิจัยต้องสรุปผลงานวิจัยเฉพาะประเด็นสำคัญทั้งหมดให้ชัดเจน

ความสำเร็จการทำวิทยานิพนธ์ในระดับบัณฑิตศึกษา ทำวิทยานิพนธ์ ป.โท และ ปริญญาเอก สถาบันการศึกษา ทุกแห่ง เพื่อเป็นการคัดกรองว่าบัณฑิตมีความรู้จริง จึงกำหนดรูปแบบคู่มือวิทยานิพนธ์ ไว้ต่างกัน จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง บัณฑิตศึกษาต้องมีการนำเสนอ ผลงานวิจัยด้วยเอกสารรูปเล่มรายงาน นำเสนอสอบปากเปล่า แสดงให้เห็นว่า บัณฑิตมีความรู้จริงในงานวิจัยชื่อเรื่องที่ได้กำหนดเอาไว้

ปรึกษางานวิจัย

โทร : 086-0355199


Research for SPSS STATA LISREL AMOS Mplus EViews

รับทำวิจัย รับวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS , STATA , LISREL , AMOS , Mplus และ EViews เลื่อนระดับ ผลงานทางวิชาการ รับทําวิจัยทางการแพทย์ ทำวิทยานิพนธ์ ป.โท ดุษฎีนิพนธ์

สอบถาม : 086-035-5199

สอบถามผ่าน Line ด้วย QR Code


รับงานวิจัย

รับงานวิจัย ที่เกี่ยวข้องกับด้านบริหารธุรกิจ การจัดการ การตลาด การท่องเที่ยว การโรงแรม สิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ บริหารการศึกษา สังคมศาสตร์ สาธารณสุข รับวิเคราะห์ข้อมูล งานวิจัยทางการแพทย์ และ การพยาบาล รับปรึกษางานวิจัย ฟรี เพื่อทำวิทยานิพนธ์ ป.โท - เอก รับเขียนบทความทางวิชาการ Thai - INTER (ตัวอย่าง บทความ COVID-19)

อ่านเพิ่มเติม


รับวิเคราะห์สถิติ

เรา คือ ผู้ให้บริการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย ANOVA , Chi-Square , Pearson's Correlation , Cluster Analysis , Discriminant Analysis , Multiple Regression , Linear Regression , Path Analysis และ Factor Analysis เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลด้านตัวเลข หาข้อค้นพบที่ได้จากงานวิจัยเป็นหลัก

รับทำวิจัย รับวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ รับวิเคราะห์ข้อมูล SPSS

อ่านเพิ่มเติม


สาระน่ารู้